ในแต่ละปีคงมีคำถามมากมายสำหรับคนเสียภาษี ว่า “เรามีสิทธิลดหย่อนอะไรได้บ้าง” ซึ่งค่าลดหย่อน ก็คือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะช่วยให้เสียภาษีได้น้อยลงเมื่อคำนวณภาษี หรือบางทีอาจจะช่วยให้เราได้เงินคืนภาษีเพิ่มขึ้นด้วย
ดังนั้น ในแต่ละปี เราจะต้องรู้ว่า มีสิทธิลดหย่อนภาษีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง และสามารถใช้สิทธิลดหย่อนอะไรได้บ้าง เพื่อที่จะได้วางแผนและใช้สิทธิ ให้ตรงกับความต้องการ และช่วยให้จ่ายภาษีได้ถูกลงด้วย ซึ่งในวันนี้
ซึ่งเป็นรายการลดหย่อนภาษีปี 2562 ที่จะใช้ยื่นภาษีในปี 2563 มาให้เราลองสำรวจก่อนที่จะเริ่มจริง โดยได้จัดกลุ่มค่าลดหย่อนแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่หนึ่ง ลดหย่อนเกี่ยวกับตัวเองและครอบครัว
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล จะหักได้คนละ 60,000 บาททันทีที่ยื่นแบบแสดงรายได้
2. ค่าลดหย่อนจากคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ 60,000 บาท สำคัญคือ คู่เราต้องจดทะเบียนสมรสเท่านั้น และอีกฝ่ายต้องไม่มีเงินได้ หรือมีแต่คำนวณภาษีพร้อมกัน (ไม่ได้ต่างคนต่างยื่น)
3. ค่าลดหย่อนบุตร ได้ 30,000 บาทต่อบุตร 1 คน
4. ค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป และเกิดตั้งแต่ปี 2561 จะได้ค่าลดหย่อนเพิ่มอีก 60,000 บาท ซึ่งเป็นนโยบายการส่งเสริมคนไทยให้มีลูกเพิ่มขึ้น
5. ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ลดหย่อนได้ไม่เกินปีละ 60,000 บาท ซึ่งหากภรรยาไม่มีเงินได้ สามีสามารถนำค่าใช้จ่ายตรงนี้ที่เกิดขึ้นจริงไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย
6. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ซึ่งต้องอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน (รวมพ่อแม่ของคู่สมรส) แต่หากมีพี่น้องและพี่น้องของเราใช้สิทธิ์ไปแล้ว เราจะไม่สามารถใช้สิทธิตรงนี้ได้ 7.ค่าอุปการะคนพิการ หรือ คนทุพพลภาพ ลดหย่อนได้ 60,000 บาทต่อคน
กลุ่มสอง ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออมและการลงทุน
1. ประกันสังคม ที่ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี
2. เบี้ยประกันชีวิต หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
3. เบี้ยประกันสุขภาพ หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท แต่เมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน100,000 บาท
4. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ได้ไม่เกิน 15,000 บาท
5. ประกันชีวิตคู่สมรส หากคู่สมรสไม่มีเงินได้ 10,000 บาท
6. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้และไม่เกิน 490,000 บาทจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเอาไปคำนวณภาษี
7. เงินสะสมกองทุน กบข.และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ ไม่เกิน 500,000 บาท
8. เงินสะสม กอช. ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 13,200 บาท
9. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้และต้องไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และ RMF จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท 10.ค่าซื้อ LTF ได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ต้องซื้อและถือครองเอาไว้อย่างน้อย 7 ปี พ.ศ. (เกินปีใหม่มา 1 วันก็นับเป็นอีกปีแล้ว) 11.RMF ได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท และต้องลงทุนต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี
กลุ่มที่สาม ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์
1. ดอกเบี้ยบ้าน ได้ตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท
2. โครงการบ้านหลังแรก ปี พ.ศ. 2558: หากบ้านหรือคอนโดหลังแรกของคุณราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท ดีใจได้ด้วย คุณสามารถนำ 20% ของค่าบ้านมาลดหย่อนภาษีได้ 5 ปี (ได้ปีละ 4%)
3. ซื้อบ้านหลังแรกในปี พ.ศ. 2562: สามารถนำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 200,000 บาท แต่บ้านที่ซื้อต้องราคาไม่เกิน 5,000,000 บาท
กลุ่มที่สี่ กลุ่มเงินบริจาค
ในกลุ่มนี้มีทั้ง การบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา สถานพยาบาลของรัฐ สนับสนุนการกีฬา และเงินบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ สามารถหักได้ 2 เท่า ตามที่จ่ายจริงแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้พึ่งประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆแล้ว และในปีนี้ ยังมีค่าลดหย่อยเพิ่มเติม คือ ช่วยเหลืออุทกภัยน้ำท่วมจากพายุปาบึก ลดหย่อนได้ตามบริจาคจริง
ส่วนเงินบริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน สุดท้าย คือ เงินบริจาคให้พรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาทเท่านั้น
กลุ่มที่ห้า กลุ่มค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
ประกอบด้วย ช้อปช่วยชาติ ซื้อสินค้าการศึกษาและกีฬา ซื้อหนังสือ ซื้อสินค้าโอทอป ที่ได้หมวดละไม่เกิน 15,000 บาท ท่องเที่ยวไทยในเมืองหลัก 15,000 บาท เมืองรอง 20,000 บาท และ 2 อันรวมกันไม่เกิน 20,000 บาท ค่าซ่อมบ้านหรือรถจากพายุปาบึก ตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท และซ่อมรถตามจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
ค่าซ่อมบ้าน และรถที่ประสบภัยจากพายุโพดุล พายุคาจิกิ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับอสังหาริมทรัพย์ และรถไม่เกิน 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนต่างๆเหล่านี้ จะเป็นตัวช่วยบรรเทาภาระภาษีให้เหลือเงินได้สุทธิน้อยลง และเมื่อคำนวณภาษีจากฐานดังกล่าวแล้ว ยอดเงินภาษีที่เราต้องจ่ายก็อาจจะลดลงไปด้วย อาจจะทำให้เราได้รับเงินคืนจากที่โดนหักจ่ายไปก่อนหน้านี้ หรืออาจเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี ที่สำคัญ อย่าลืมใช้สิทธิตามค่าลดหย่อนและเก็บหลักฐานต่างๆไว้ และอย่าลืมยื่นภาษีภายในกำหนดด้วยนะ
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ผ่านอินเทอร์เน็ต ปีภาษี 2562 ได้ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2563